วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

๑. นางสาวกุลธารินท์ อัครธนาชัย เลขที่ ๓
๒. นางสาวนภสร บุญญสิริ เลขที่ ๑๑
๓. นางสาวปภัชกร หลีทองหล่อ เลขที่ ๑๕
๔. นางสาวลิตา ภู่พัฒน์ เลขที่ ๒๖
๕. นายคงพัฒน์ ไพนุพงศ์ เลขที่ ๓๔
๖. นายปวีร์ เลาหพูนรังษี เลขที่ ๓๖
๗. นายอนาลยะ กอสกุล เลขที่ ๔๒

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยค

ประโยค คือ คำหลายคำที่นำมาเรียงติดกันจนเกิดเป็นความหมายที่สมบูรณ์ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ภาคประธาน และ ภาคแสดง โดยการประกอบคำใน ๑ ประโยค จะต้องมีคำนามเป็นภาคประธาน และ คำกริยาแท้อย่างน้อย ๑ ตัว จึงจะถือเป็นประโยคสมบูรณ์



เนื้อความของประโยค
๑. ประโยคบอกเล่า เช่น เมื่อวานผมไปเที่ยวมา
๒. ประโยคปฏิเสธ เช่น ผมไม่ได้เป็นแฟนกับเขา
๓. ประโยคคำถาม เช่น คุณทานอะไรอยู่
๔. ประโยคบังคับ ขอร้อง ชักชวน
    ๔.๑ บังคับ เช่น คุณต้องออกไปเดี๋ยวนี้
    ๔.๒ ขอร้อง เช่น กรุณาปิดไฟด้วยนะครับ
    ๔.๓ ชักชวน เช่น พรุ่งนี้ไปงานแนะแนวการศึกษาต่อด้วยกันไหม


รูปแบบการสร้างประโยค สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว
๒. ประโยคความรวม คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียว ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีสันธานเชื่อม
     ๒.๑ ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความรวมแต่ละประโยคมีเนื้อความคล้อยตามกันทุกประโยค
     ๒.๒ ประโยคความรวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน คือ ประโยคความรวมแต่ละประโยคที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน
     ๒.๓ ประโยคความรวมที่มีเนื้อความให้เลือก คือ ประโยคความรวมที่มีประโยคความเดียวมีเนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
     ๒.๔ ประโยคความรวมที่มีเนื้อหาเป็นเหตุเป็นผลกัน คือ ประโยคความรวมที่ประโยคแรกเป็นเหตุ ประโยคหลังเป็นผล โดยมีสันธาน จึง เพราะ เพราะฉะนั้น เป็นตัวเชื่อม
๓. ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มคำ(วลี)

กลุ่มคำ หรือ วลี หมายถึง การนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงกัน มีใจความไม่สมบูรณ์เพราะขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ประธาน หรือ ภาคแสดง จึงไม่ถือเป็นประโยค

กลุ่มคำ หรือ วลี สามารถแบ่งออกได้เป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๑. นามวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำนาม
   เช่น เด็กหลายคน
๒. สรรพนามวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำสรรพนาม
   เช่น เราทุกคน
๓. กริยาวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำกริยา
   เช่น ไปแต่เช้าตรู่
๔. วิเศษณ์วลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำวิเศษณ์
   เช่น งามเหลือหลาย
๕. บุพบทวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำบุพบท
   เช่น หน้าบ้าน
๖. สันธานวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำสันธาน
   เช่น เพราะเหตุนี้
๗. อุทานวลี คือ กลุ่มคำที่นำหน้าด้วยคำอุทาน
   เช่น ว้าย คุณพระช่วย